Search
Close this search box.

“BCG” คานดีดเศรษฐกิจไทยโตยั่งยืน จี้ผู้นำเอเปคดันต่อ 3 เรื่องเร่งด่วน

share to:

Facebook
Twitter

การประชุม APEC 2022 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพมาตลอดทั้งปีนี้ รูดม่านปิดฉากลงไปแล้วอย่างสวยงาม พร้อมเปิดฉากบริบทใหม่ที่ 21 เขตเศรษฐกิจสมาชิกจะต้องรวมพลังขับเคลื่อนความร่วมมือให้บังเกิดผลให้เป็นรูปธรรม

โดยมี 2 เรื่องใหญ่ ที่เป็นผลลัพธ์จากการประชุม ที่ผู้นำได้ให้การรับรองและออกเป็นปฏิญญาคือ การขับเคลื่อน เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG (Bangkok goals on BCG Economy) ที่นำเสนอโดยประเทศไทย

ทั้งนี้ทุกเขตเศรษฐกิจเชื่อมั่นว่าโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-เศรษฐกิจชีวภาพ, Circular-เศรษฐกิจหมุนเวียน, Green-เศรษฐกิจสีเขียว) จะสร้างการเติบโตของประเทศ และตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลกได้ และอีกไฮไลท์ คือ จะเดินหน้าสานต่อการหารือเรื่องเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (FTAAP) ให้เป็นรูปธรรม

ขณะเดียวกันในส่วนของการประชุมเอเปคภาคเอกชน(APEC CEO Summit 2022) คู่ขนานกับการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจ ได้นำเสนอ 3 เรื่องเร่งด่วนให้ผู้นำเอเปคช่วยกันเร่งแก้ไข ที่ถือเป็นความท้าทายใหม่ของโลกได้แก่

  1. ปัญหาเงินเฟ้อที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ ซึ่งงเป็นผลจากความขัดแย้ง และสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลต่อเนื่องถึงราคาพลังงาน ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลเงินเฟ้อทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้น และมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ กระทบต้นทุนผู้ประกอบการ
  2. ปัญหาความมั่นคงด้านอาหาร ที่หลายสิบประเทศเวลานี้เกิดการขาดแคลนอาหาร
  3. ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่ทั่วโลกต้องให้ความสำคัญในการร่วมมือกันทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน

ทั้งนี้หลังการประชุมเอเปค 2022 ประเทศไทยปิดฉากลง และส่งให้สหรัฐอเมริกา เจ้าภาพจัดประชุมเอเปคในปี 2023 รับไม้ต่อ ในส่วนของภาคเอกชน ซึ่งเป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญมีความคาดหวังอย่างไรจากบทสรุปเอเปค 2022 อย่างไร และจะทำอะไรนับจากนี้ นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และประธานสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค(ABAC) ให้สัมภาษณ์กับ “ฐานเศรษฐกิจ” คำต่อคำดังนี้

เรื่องที่สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปคได้นำเสนอต่อผู้นำไปแล้ว จะเป็นอย่างไรต่อไปนับจากนี้

ตอนนี้ยังเร็วเกินไปที่จะติดตามผล หรือสรุปผลเพราะเพิ่งเสนอไป ซึ่งสิ่งที่ ABAC ได้นำเสนอผู้นำเอเปคไปมี 2 มิติ มิติที่ 1 คือ 3 เรื่องเร่งด่วน และมิติที่ 2 เป็น 5 หัวข้อหลัก และ 69 ข้อย่อยที่คณะทำงานของ ABAC ได้มีการประชุม 4 รอบใน 4 ประเทศ (สิงคโปร์ แคนาดา เวียดนาม ไทย) โดยข้อเสนอหลัก 5 ข้อ

 

ที่มาข้อมูล/อ่านทั้งหมดได้ที่ : https://www.thansettakij.com/business/economy/548422