
ความหลากหลายทางชีวภาพ


เกษตร


อาหาร

(1) กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารเดิม (Commodity)
(2) กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารใหม่ (Functional Food) เช่น อาหารสุขภาพ อาหารเฉพาะกลุ่ม (ผู้สูงอายุ นักกีฬา) กลุ่มสารที่ให้ประโยชน์เชิงหน้าที่ (Functional Ingredient)
(3) กลุ่มอาหารท้องถิ่น ครอบคลุมอาหารพื้นบ้าน อาหารไทย และอาหารสตรีทฟู๊ด โดยใช้อัตลักษณ์สร้างจุดขาย

ยาวัคซีน


เครื่องมือแพทย์


พลังงาน


ท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์


เศรษฐกิจหมุนเวียน

BCG 8 สาขา ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ก้าวไกลสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ความหลากหลายทางชีวภาพ
เน้นการนำความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์เพื่อความยั่งยืนของฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นทุนพื้นฐานต่อการพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตเพื่อส่งต่อสู่คนรุ่นต่อไป รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติจากการมองว่า “Nature as Resource” เป็น “Nature as Source”

เกษตร
เพิ่มประสิทธิภาพ ขีดความสามารถในการแข่งขัน มาตรฐาน เพื่อสนับสนุนให้ไทยเป็นครัวโลกที่มีความปลอดภัยและสะอาด

อาหาร
สร้างความมั่นคงทางอาหาร มีอาหารที่ปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการและมีความพอเพียงตลอดทั้งปี ลด Food Loss/Food Waste การผลิตอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่การผลิต มี 3 กลุ่มเป้าหมายหลัก

ยาและวัคซีน
ส่งเสริมธุรกิจที่ดำเนินการโดยคนไทย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งตนเองด้วยการวิจัยพัฒนา และผลิตเพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้า

เครื่องมือแพทย์
ผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า โดยจะยกระดับมาตรฐานการผลิตเครื่องมือแพทย์และบริการทางการแพทย์ขึ้นเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน

พลังงาน
วัสดุและเคมีชีวภาพ เพิ่มการใช้ผลผลิตเกษตรและชีวมวลในการผลิตพลังงาน

ท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ใช้ทุนทางธรรมชาติ วัฒนธรรม ความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อสร้างอัตลักษณ์ ตอบสนองแต่ละกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ให้ไทยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวคุณภาพ กระจายรายได้อย่างทัวถึง ยั่งยืน และเป็นศูนย์กลางการรักษาและดูแลสุขภาพของเอเชีย

เศรษฐกิจหมุนเวียน
เน้นการรักษาคุณค่าของทรัพยากรด้วยการหมุนเวียนนำกลับมาใช้ การลดของเสียให้น้อยที่สุด การแก้ไขปัญหามลพิษ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น