Search
Close this search box.

จังหวัดตรัง จัดอบรมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพนวัตกรรม โครงการเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดตรัง

share to:

Facebook
Twitter

เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566 ที่ห้องประชุม Naga Ballon โรงแรม Ramada by Wyndham ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธานเปิดการอบรมตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพนวัตกรรม โครงการเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดตรัง โดยมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน ตามยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดตรัง พ.ศ. 2566-2570 กำหนดมุ่งเน้นการพัฒนาจังหวัดสู่เป้าหมายเมืองแห่ง”คุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืน”และบรรลุเป้าหมาย “ตรังเมืองเติบโตบนฐานเศรษฐกิจ BCG โดยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน” ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด 20 ปี พ.ศ. 2566 – 2585

แผนพัฒนาจังหวัดตรัง พ.ศ. 2566 – 2570 ได้กำหนดประเด็นการพัฒนาจังหวัดไว้ 4 ด้าน ประกอบด้วย

1.) สร้างฐานเศรษฐกิจของจังหวัดด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมที่มั่นคงและยั่งยืน

2.)ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ

3.)เสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมพัฒนาคุณภาพชีวิตและการศึกษาเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

4.)บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม พะยูน สัตว์ทะเลหายาก และพลังงานอย่างเหมาะสมกับชุมชน/พื้นที่และมีความยั่งยืน

ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ได้กล่าวว่า จังหวัดตรังโดยส่วนราชการและภาคเอกชนจะต้องให้ความสำคัญกับการบริหารงานเชิงพื้นที่ให้สอดคล้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และปัญหาความต้องการของประชาชนในพื้นที่โดยนำมาวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ในรูปแบบเชิงรุก โดยปัจจัยที่สำคัญที่จะบรรลุเป้าหมายได้ ประกอบด้วย
1.)เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
2.)ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา
3.)นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยมาใช้ในการเพิ่มขีดสมรรถนะ

โดยจังหวัดตรังได้กำหนดแนวทางการพัฒนาจังหวัดตรัง คือ T-R-A-N-G ได้แก่

  • T-Tourism & Service : ยกระดับการท่องเที่ยวและบริการมูลค่าสูง
  • R-Responsible Social Development : พัฒนาสังคมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต
  • A-Agriculture & Industry : เกษตรและอุตสาหกรรมมูลค่าสูง
  • N-Natural Resource & Environment : บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
  • G-Gastronome : ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อาหารเมืองตรัง

อย่างไรก็ตาม จังหวัดตรังได้มีแผนการพัฒนาเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ Andaman Wellness Corridor (AWC) พร้อมทั้งกำหนดแนวทางขับเคลื่อนโครงการและการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางอาหารและบริการเพื่อสุขภาพ โดยพิจารณาจากจุดแข็งความโดดเด่นด้านสินค้า GI สมุนไพร นวดสปา เมืองอากาศดี และเมือง Sport city โดยมอบหมายให้ส่วนราชการและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรม ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ทั้ง 4 ประเด็น ประกอบด้วย
1.)อาหารเพื่อสุขภาพ
2.)อากาศดี
3.)กีฬาเพื่อสุขภาพ
4.) สุขภาพดี

 

ที่มาภาพ/ข้อมูล : https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG230901135504130