ผมได้มีโอกาสไปประชุมร่วมกับอธิการบดีและผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งจากส่วนกลาง (หาดใหญ่) และวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายก อบจ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัด ประธานสภาหอการค้าจังหวัด และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่ทุ่งใสไช สุราษฎร์ธานี ที่มีพื้นที่กว่า 3,000 ไร่ ติดอ่าวไทย
โดยเป็นการหารือครั้งสำคัญ เพื่อวางแนวคิดและกรอบยุทธศาสตร์ร่วมกัน พัฒนาทุ่งใสไช ให้เป็น “ต้นแบบ” ของ BCG platform ระดับโลก ที่เน้น
1) การสร้างมูลค่าบนความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม
2) การพัฒนา Agriculture ควบคู่ไปกับ Aquaculture
3) การปรับเปลี่ยนจาก Modern Farms & Foods เป็น Sustainable Farms & Foods เพื่อตอบโจทย์โลกในศตวรรษจากนี้ไป
ทาง ม.อ. ตั้งใจให้ ทุ่งใสไช เป็น “BCG Integrated Platform” ที่ครอบคลุม 3 มิติ ทั้ง Sectoral-based, Area-based และ Career-based BCG ไปพร้อมๆกัน หัวใจสำคัญของทุ่งใสไช จะอยู่ที่
1) การสร้าง Value Creation ผ่านองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการบริหารจัดการสมัยใหม่ เน้นการปรับเปลี่ยนจากสินค้าโภคภัณฑ์ (More for Less) เป็น สินค้านวัตกรรม (Less for More) เป็นสำคัญ โดยครอบคลุม ปศุสัตว์ ประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พืชเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว ผ่านการสร้าง Smart Farmer, Precision Agriculture และ Foods for the Future
2) การพัฒนาโมเดลธุรกิจและระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ที่เน้นการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน เชื่อมชุมชนไทยสู่ประชาคมโลก ผ่าน Distributive Economic Model ที่เน้น People Power มากกว่า Market Power ควบคู่ไปกับ Regenerative Circular Economy และ Zero Carbon Society เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และการพัฒนาสู่ความยั่งยืนไปพร้อมๆกัน
โดยในชั้นต้น ได้เริ่มทดลองเลี้ยงวัวเนื้อกว่า 80 ตัว กำลังจะมีแพะ กุ้ง ชันนะโรง และอื่นๆ ตามมาครับ
ที่มาภาพข้อมูล : https://www.facebook.com/drsuvitpage/posts/pfbid0VELmXUtWkATjmSnBMbQGCLAh1Mr9Qe5vYeAXYm8czm5m2LMMTgJtLPsAxuaTgtEpl