Search
Close this search box.

จังหวัดลำพูน จัดงานเสวนาในหัวข้อ อนาคตลำพูนกับการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (NEC)

share to:

Facebook
Twitter

จังหวัดลำพูน จัดงานเสวนาในหัวข้อ อนาคตลำพูนกับการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (NEC) เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นกับการพัฒนา และขับเคลื่อนด้วยแนวคิด เศรษฐกิจ BCG Economy แบบโดยรวม

วันนี้ (8 มิ.ย.66) ที่ห้องประชุมโรงแรม แกรนด์ปา โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท ลำพูน นายอนุพงษ์ วาวงศ์มูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนเป็นประธานเปิดงานสัมมนา “Forum 2023: NEC Lamphun Moving Forward Together” อนาคตลำพูนกับการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (NEC) โดยมี รองศาสตร์ตราจารย์วงกต วงศ์อภัย รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ ในนามมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ในการจัดงานดังกล่าว มีหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัด ผู้แทนจากภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

ทั้งนี้ ภายในงานมีการบรรยายหัวข้อการเชื่อมโยงของนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในยุทธศาสตร์ชาติ และแผนพัฒนาและนโยบายของรัฐ และการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค นอกจากนี้มีการให้ผู้เข้าร่วม ตอบคำถามและข้อเสนอแนะเพื่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาและขับเคลื่อน ลำพูนกับการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (NEC) ด้วยแนวคิด เศรษฐกิจ BCG Economy แบบโดยรวม ร่วมกัน อีกด้วย

สำหรับพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (Northern Economic Corridor: NEC) เป็นโครงการนำร่องการพัฒนาครอบคลุมพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่/เชียงราย/ลำปางและลำพูน มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาพื้นที่ให้เป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ เป็นแหล่งผลิตสินค้าและบริการที่ต่อยอดจากฐานวัฒนธรรมล้านนา เนื่องจากภาคเหนืออุดมไปด้วยอารยธรรมและอัตลักษณ์ที่โดดเด่น ทั้งด้านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีที่ยาวนาน จึงเหมาะต่อการนำภูมิปัญญา ท้องถิ่นมาสร้างมูลค่าเพิ่มตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ตลอดห่วงโซ่มูลค่า เพื่อต่อยอดให้เกิดการผลิต การบริการ และส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่

โดยจังหวัดลำพูนเป็นหนึ่งในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ มีภูมิศาสตร์ทำเลที่ตั้งเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งที่เชื่อมต่อทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และเครื่องบินกับจังหวัดต่างๆ เป็นที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมศูนย์อุตสาหกรรม เครือสหพัฒน์ ทำให้เกิดการจ้างงาน และส่งผลให้รายได้ต่อประชากร /GDP อยู่ในระดับสูงของประเทศมีความพร้อมด้านสาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐาน และพื้นที่ที่สามารถรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรรม/นิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่ เป็นแหล่งจ้างงานสำคัญของภูมิภาค จากแผนพัฒนาจังหวัดลำพูน (ปี 2566-2570 ) ได้กำหนดพันธกิจใน 4 ประเด็น ได้แก่

1.เมืองแห่งวัฒนธรรม อัตลักษณ์วิถี และท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

2.เมืองแห่งอุตสาหกรรม หัตถอุตสาหกรรม และเศรษฐกิจสร้างสรรค์

3.เมืองแห่งเกษตรสุขภาพ และเกษตรนวัตกรรมสร้างสรรค์

4.เมืองแห่งความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

ซึ่งมีความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) และแผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 13 โดยหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญคือ ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วย เศรษฐกิจ BCG ภายใต้แนวคิด Bio-Circular-Green Economy Model เป็นแนวคิดหรือหลักการที่จะพัฒนาเศรษฐกิจแบบโดยรวม โดยที่ไม่มุ่งเน้นเพียงแต่การ พัฒนาในด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ต้องมีการพัฒนาควบคู่ไปกับการรักษา สิ่งแวดล้อมให้สมดุล ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมภายในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาเศรษฐกิจไปพร้อมกัน เกิดการกระจายรายได้ลงสู่พื้นที่ชนบทซึ่งลดความเหลื่อมล้ำ ส่งผลให้ชุมชนและพื้นที่ชนบทเกิดความเข้มแข็ง โดยมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเกิดการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

 

ที่มาภาพ/ข้อมูล : https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG230608121036080