Search
Close this search box.

Green Technology ยกระดับอุตสาหกรรมน้ำตาล สู่ธุรกิจสีเขียวเพื่อความยั่งยืน

share to:

Facebook
Twitter

รวมถึงลดแรงกดดันมาตรการของคู่ค้าที่ให้ความสำคัญกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจน้ำตาลในยุค Decarbonizationคาดการลงทุนเทคโนโลยีสีเขียวในแต่ละประเภทจะทำให้มี ROI อยู่ที่ราว 20-30% โดยมีระยะเวลาการคืนทุนอยู่ที่ 3-7 ปี และสร้างประโยชน์ให้กับอุตสาหกรรมน้ำตาลได้ราว 1.7 แสนล้านบาท

อภินันทร์ สู่ประเสริฐ นักวิเคราะห์อาวุโส  ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย สร้างรายได้จากการส่งออกกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี คิดเป็นสัดส่วนราว 9% ของ GDP ภาคเกษตร แต่เป็นอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมลพิษค่อนข้างสูง โดยการปล่อย PM 2.5 สูงถึง 11% ของการปล่อย PM 2.5 ทั้งหมดของไทย

มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกคิดเป็น 9% ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดในภาคเกษตร จึงเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่หลายฝ่ายตื่นตัวในการผลักดันให้เร่งเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมสีเขียว ซึ่งหากสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม ก็จะเป็นหนึ่งใน Sector สำคัญในภาคเกษตรที่จะช่วยให้ไทยบรรลุเป้าหมายการมีส่วนร่วมของประเทศในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตาม Nationally Determined Contribution (NDC)

ทั้งนี้อุตสาหกรรมน้ำตาลเผชิญกับความท้าทายจากปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและฝุ่น PM 2.5 จากกระบวนการเผาอ้อย การใช้พลังงานความร้อนจำนวนมากในกระบวนการผลิตน้ำตาล โดยการผลิตน้ำตาลของอุตสาหกรรมน้ำตาลไทยทุกๆ 1 ตัน จะมีการปล่อย Emission ราว 7,150 kgCO2eq หรือเทียบได้กับการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกระยะทางราว 1 หมื่นกิโลเมตร

รวมถึงมีของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต ทำให้อุตสาหกรรมน้ำตาลมีความเสี่ยงจากนโยบายและมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่มีแนวโน้มเข้มงวดมากขึ้น ประกอบกับความเสี่ยงจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้นในอนาคต อาจส่งผลให้ในปี 2589-2598 ผลผลิตอ้อยมีแนวโน้มลดลงราว 25-35% กระทบผู้ประกอบการธุรกิจน้ำตาลของไทยให้เผชิญปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ

แหล่งที่มาภาพและข้อมูล/อ่านเพิ่มเติม : https://www.bangkokbiznews.com/environment/1128065