Search
Close this search box.

รายงานพิเศษ : “กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) และภาคเอกชน นำขยะอินทรีย์อบแห้งมาใช้ประโยชน์และสร้างรายได้ให้ชุมชน”

share to:

Facebook
Twitter

รายงานพิเศษ : “กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) และภาคเอกชน นำขยะอินทรีย์อบแห้งมาใช้ประโยชน์และสร้างรายได้ให้ชุมชน”

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) และภาคเอกชน นำขยะอินทรีย์อบแห้งมาใช้ประโยชน์และสร้างรายได้ให้ชุมชน โดยเฉพาะการแก้ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากขยะเศษอาหาร

สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย พบมีการผลิตขยะออกมา 24.98 ล้านตันต่อปี หรือประมาณ 68,000 ตันต่อวัน แบ่งเป็น ขยะอินทรีย์ร้อยละ 64 โดยขยะอินทรีย์ 1 ตัน ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 0.51 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งอัตราการผลิตขยะต่อคน 1.14 กิโลกรัมต่อวัน แต่นำกลับไปใช้ประโยชน์เพียงร้อยละ 32 ถูกส่งกำจัดอย่างถูกต้องเพียงร้อยละ 37 ส่วนที่เหลือนำไปกำจัดไม่ถูกต้องกว่าร้อยละ 31 ทำให้เกิดขยะสะสมกลายเป็นปัญหามลภาวะ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพกับประชาชน และเป็นการทิ้งทรัพยากรไปโดยเปล่าประโยชน์

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ให้ความสำคัญกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG และการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยมีแนวทางปฏิบัติอย่างชัดเจนบริหารจัดงานที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างยั่งยืน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และบริษัท เอ็น.ซี.ซี.แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ได้ร่วมกันสนับสนุนการนำขยะอินทรีย์อบแห้งมาใช้ประโยชน์ในงานวิจัยมุ่งมั่นในการทำให้ขยะไม่ใช่ขยะ เพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางด้วยการนำขยะอินทรีย์อบแห้งที่ผ่านการแปรรูปแล้ว ไปใช้ประโยชน์ในภาคการศึกษาและการวิจัยของประเทศ ส่งเสริมการเผยแพร่องค์ความรู้ด้วยการประชาสัมพันธ์และถ่ายทอดให้กับชุมชน เครือข่าย และประชาชน นายวรพล จันทร์งาม รองอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เล่าว่า ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะทำให้การส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา เพื่อการศึกษาวิจัยและบริการวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมขยายผลออกในวงกว้างเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาขยะ นำไปสู่การแก้ปัญหาที่สำคัญด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

สำหรับแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564) พบจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกต้อง สำเร็จร้อยละ 69 จากเป้าร้อยละ 75 // จัดการของเสียอันตรายชุมชน สำเร็จร้อยละ 22 จากเป้าร้อยละ 30 และจัดการมูลฝอยติดเชื้อ สำเร็จร้อยละ 90.85 จากเป้า 100 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่ยังไม่บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดมีปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัด เช่น สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนของรัฐและเอกชนส่วนใหญ่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ระบบติดตาม กำกับและควบคุมการดำเนินงานของสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยยังไม่ทั่วถึงและเพียงพอ รวมทั้ง กฎหมายการจัดการขยะมูลฝอยปัจจุบันไม่สามารถกำกับดูแลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ดำเนินการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ จึงจำเป็นต้องมีแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2565 – 2570) ขยะมูลฝอยชุมชนต้องได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ร้อยละ 80 โดยจะเพิ่มการคัดแยกขยะจากบ้านเรือนและนำกลับไปรีไซเคิล ร้อยละ 36 การกำจัดจะมุ่งเน้นการนำไปเผาผลิตเป็นพลังงาน เพื่อลดการเทกองและการเผาขยะอย่างไม่ถูกต้องและลดการนำขยะไปฝังกลบ // เพิ่มปริมาณการนำขยะกลับมาเป็นวัสดุรีไซเคิลในการผลิตให้มากขึ้น ร้อยละ 74 – 100 // ลดปริมาณขยะอาหารเหลือร้อยละ 28 เพื่อลดปัญหากลิ่นเหม็นที่กองขยะและลดก๊าซเรือนกระจก // ของเสียอันตรายชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง อย่างน้อย ร้อยละ 50 // มูลฝอยติดเชื้อและกากอุตสาหกรรมที่เป็นอันตรายต้องจัดการอย่างถูกต้องร้อยละ 100 เพื่อยกระดับการบริหารจัดการขยะมูลฝอยที่ให้ความสำคัญกับการจัดการที่ต้นทางตามวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) ตั้งแต่ต้นทาง เช่น การออกแบบการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับการกำจัดขยะมูลฝอย ณ ปลายทาง เพื่อนำทรัพยากรกลับคืนจากของเสียให้มากที่สุด

 

 

ที่มาภาพ/ข้อมูล : https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG230113160059788