Search
Close this search box.

ต่อยอดความสำเร็จจาก เอเปค 2022 นำไทยสู่การเป็น BCG Model ระดับโลก ที่มีต้นแบบจากแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

share to:

Facebook
Twitter

ต่อยอดความสำเร็จจาก เอเปค 2022 นำไทยสู่การเป็น BCG Model ระดับโลก ที่มีต้นแบบจากแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของ ในหลวงรัชกาลที่ 9

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ได้จัดการเสวนาผ่านรายการ Future Talk by NXPO ในหัวข้อ “Circular Economy : ผลสำเร็จจากเวทีเอเปค สู่จุดยืนประเทศไทย” โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนาผู้ทรงคุณวุฒิ มาร่วมระดมสมองเพื่อนำประเทศไทยเข้าสู่ BCG Model ระดับโลก ด้วยต้นทุนสำคัญ นั่นคือ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 นั่นเอง

โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มาเสวนาบนเวทีนี้ ประกอบด้วย เฉลิม โกกนุทาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ดร.สวนิตย์ บุญญาสุวัฒน์ คณะทำงาน BCG Model สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จิรายุณัฐ อัจฉริยะขจร เจ้าของแบรนด์ One more ช็อกโกแลตสัญชาติไทย และ นรชัย รังสีวิจิตรประภา ผู้เชี่ยวชาญนโยบาย กลุ่มนโยบายเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน สอวช. ดำเนินรายการโดย ดร.ศรวณีย์ สิงห์ทอง ผู้อำนวยการฝ่ายกลุ่มนโยบายเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน สอวช.

โดยการเสวนาบนเวที เริ่มจาก ดร.ศรวณีย์ ที่กล่าวว่า “จากการที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค 2022 และได้ยกประเด็น BCG Model โดยมีเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญในเวทีนี้ เพื่อตอบโจทย์การนำพาประเทศและเขตเศรษฐกิจไปสู่ความยั่งยืน ซึ่งประเทศไทยวางเป้าหมายสำหรับเวทีนี้ให้เกิดการทำงานร่วมกันในเขตเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก จะทำให้เกิดความเข้มแข็งทางการค้าและความร่วมมืออื่นๆ ในเขตเศรษฐกิจนี้

นอกจากนี้เศรษฐกิจหมุนเวียนยังสนับสนุนผู้ประกอบการ/ภาคเอกชนในมิติภาษีที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มิติภาคบังคับของการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งหากเราปรับตัวเร็วก็จะเป็นโอกาสในการสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ ที่จะสามารถเข้าไปอยู่ในห่วงโซ่อุปทานของโลกได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ประเทศไทยต้องมีความจริงจังและให้ความสำคัญ และเป็นจังหวะที่ดีที่ได้ถูกหยิบยกเป็นวาระในการประชุมเอเปค 2022 นี้

ด้าน คุณนรชัย กล่าวว่า “ความสำเร็จจากการประชุมเอเปค เป็นที่มาของ Bangkok Goals ที่นานาประเทศในกลุ่มเอเปค ยอมรับแนวทางนี้ที่ริเริ่มโดยประเทศไทย ซึ่งแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเอง ก็มีการระบุไว้ชัดเจนว่าจะสามารถนำไปสู่เป้าหมายความยั่งยืนได้”

“ทั้งนี้ ในส่วนของ สอวช. ที่ผ่านมาได้ดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนทั้งในระดับนโยบายและระดับผู้ประกอบการ โดยระดับนโยบาย ได้จัดตั้ง CE Innovation Policy Forum ขึ้นมา ให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และระดมความคิดเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของผู้ประกอบการได้สนับสนุนให้เกิดโครงการสร้างขีดความสามารถในการออกแบบหมุนเวียน (Circular Design) เพื่อเสริมสร้าง และติดอาวุธให้กับผู้ประกอบการ”

“ขณะเดียวกันในระดับเอเปค สอวช. มีศูนย์คาดการณ์เทคโนโลยีเอเปค (APEC Center for Technology Foresight) ที่มีบทบาทในการจัดทำแผนภาพของเทคโนโลยีด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน และยังร่วมกับหลายเขตเศรษฐกิจ จัดทำแผนที่นำทางเทคโนโลยีนำไปสู่ความร่วมมือระหว่างประเทศด้วย”

 

ที่มาข้อมูล/อ่านทั้งหมดได้ที่ : https://www.salika.co/2022/12/25/thailand-bcg-model-mission/