Search
Close this search box.

เศรษฐกิจปากท้องเป็นความสำคัญเร่งด่วน

share to:

Facebook
Twitter

รัฐบาลเร่งผลักดันการแปลงนโยบาย BCG สู่การปฏิบัติ มุ่งสร้างรายได้กระจายไปสู่ประชาชน ทั้ง 7,435 ตำบล ทั่วประเทศ

จากผลสำเร็จของ “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” หรือ “1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย” ในปี 2564 ที่ให้ผลตอบแทนทางสังคมราว 4.75 เท่า หรือประมาณ 50,000 ล้านบาท จากการจ้างงานมากกว่า 58,000 คน เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมกว่า 10,088 กิจกรรม ในพื้นที่ 30,000 ตำบล

วันนี้ (14 มิ.ย.65) ครม.เห็นชอบให้ต่อยอดความสำเร็จดังกล่าว พัฒนาเป็น “โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG” ให้ครอบคลุม 7,435 ตำบล ทั่วประเทศ โดยการใช้ประโยชน์สูงสุดจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Thailand Community Big Data : TCD) ที่พัฒนาไว้ และทำให้ต่อเนื่องสมบูรณ์ทุกพื้นที่ มีเป้าหมายสำคัญ ได้แก่

1. การเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน ของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม กว่า 15,000 กิจกรรม
2. การเพิ่มการจ้างงานบัณฑิตจบใหม่ และประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งการ Upskill/Reskill ทักษะพื้นฐานที่จำเป็น และทักษะที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ BCG เกือบ 70,000 คน
3. การสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์และบริการของชุมชน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 จาก 4,500 รายการ
4. การสร้างการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจในพื้นที่ ไม่น้อยกว่า 600 ล้านบาท/เดือน

สิ่งสำคัญ คือ นโยบายนี้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก ที่เน้นการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยิ่งกว่านั้น โครงการนี้ ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ในเศรษฐกิจและสังคม “ระดับฐานราก” ของประเทศ

ที่มาข้อมูล : https://www.facebook.com/PMOCNEWS/posts/341801784800693

บทความที่เกี่ยวข้อง