Search
Close this search box.

งานหัตถกรรมไทยกับเทรนด์รักษ์โลก

share to:

Facebook
Twitter

เทรนด์รักษ์โลกเป็นเทรนด์ที่ได้รับความสนใจมากในปัจจุบัน เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป หลายคนหันมารักษาสุขภาพ เลือกใช้สินค้าที่ปลอดภัย ไร้สารพิษและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมจนเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมในวงกว้าง แบรนด์ท้องถิ่นต่างๆจึงมีบทบาทมากขึ้นจนได้รับความสนใจเป็นพิเศษ สามารถที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าขึ้นได้ กลายเป็นเทรนด์ของโลกปัจจุบันและคาดว่าจะเป็นเทรนด์แห่งอนาคตด้วย

แบรนด์ท้องถิ่นหรือ Local Brand มักจะมีพื้นฐานมาจากการใส่ใจสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ให้คุณค่ากับการสนับสนุนการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น สร้างนวัตกรรมที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ตรงกับความต้องการของคนยุคนี้ที่ต้องการความปลอดภัย และต้องการอนุรักษ์ธรรมชาติไปพร้อมกัน

เมื่อมุมมองการใช้ชีวิตเปลี่ยนจึงทำให้เกิดโมเดลเศรษฐกิจใหม่เรียกว่า BCG Model คือการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมทั้ง 3 มิติไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มมูลค่าทรัพยากรในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำน้อยแต่ได้มาก เสริมความมั่นคงด้านรายได้

เศรษฐกิจแบบหมุนเวียน (Circular Economy) การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดการสูญเสีย ใส่ใจเรื่องการ Recycle Zero Waste และการ Upcycle เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (สศท.) หรือ sacit เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ขานรับแนวคิดนี้ มุ่งส่งเสริมให้ช่างฝีมือที่มีภูมิปัญญาและทักษะเชิงช่างในชนบท หันมาพัฒนา ต่อยอดและนำองค์ความรู้ในงานศิลปหัตถกรรม ที่ตอบโจทย์เทรนด์รักษ์โลก มาเป็นอาชีพหลักที่สร้างงานสร้างรายได้ที่มั่นคง ขับเคลื่อนผ่านกลุ่มผู้ผลิตงานหัตถกรรมในชุมชนช่วยกันต่อยอดงานภูมิปัญญาชาวบ้านและสร้างสรรค์ให้มีความเป็นสากลมากขึ้น เพื่อตรงตามความต้องการของตลาดในปัจจุบัน ควบคู่สร้างความยั่งยืน เพื่อให้งานศิลปหัตถกรรมไทยอยู่คู่กับสังคมไทยต่อไป

ที่มาข้อมูล/อ่านต่อทั้งหมดได้ที่ : https://mgronline.com/onlinesection/detail/9650000069940