Search
Close this search box.

EV conversion ยิงปืนนัดเดียว ได้นกหลายตัว

share to:

Facebook
Twitter

EV conversion หรือ อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง เป็นการนำรถเก่าที่ใช้น้ำมัน มาเปลี่ยนระบบขับเคลื่อนใหม่ เพื่อเปลี่ยนจากการเติมน้ำมันมาเป็นระบบไฟฟ้า 100%

ทำไมเราต้องทำ EV conversion ในเมื่อที่ผ่านมารัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนค่ายรถยนต์ให้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า แทนรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปแบบเดิม และค่ายรถยนต์ต่างๆ ก็เริ่มลดจำนวนการผลิตรถยนต์แบบเดิม หันมาผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ซึ่งประเทศไทยตั้งเป้าหมายภายในปี 2030 เราจะต้องมีรถยนต์ไฟฟ้าวิ่งอยู่บนถนนไม่ต่ำกว่า 30 เปอร์เซ็นต์

แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่า ราคารถยนต์ไฟฟ้ายังค่อนข้างสูง ราคาเริ่มต้นต่อคันแตะหลักล้าน แม้รัฐบาลจะสนับสนุนส่วนลดให้คันละ 1.7 แสนบาท แต่ส่วนที่ต้องจ่ายก็ยังค่อนข้างสูงอยู่ดี คนหาเช้ากินค่ำ พ่อค้าแม่ขาย คนขับรถบริการ คงหมดปัญญาจะหาซื้อมาใช้ นอกจากปัญหาราคารถยนต์ไฟฟ้าที่ยังค่อนข้างแพงแล้ว ในประเทศไทยยังมีรถแบบเติมน้ำมันสูงถึง 40 ล้านคัน ทำให้อุตสาหกรรม EV conversion ถูกหยิบยกมาพูดถึงเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

แม้ไทยจะไม่ใช่ประเทศแรกที่สร้างอุตสาหกรรม EV conversion แต่ถือเป็นประเทศแรกของโลกที่บรรจุนโยบายการพัฒนา EV conversion ไว้ในแผนระดับชาติ ของ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์” ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ที่ปรึกษาพิเศษด้านพัฒนาการศึกษา บุคลากร และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กล่าวถึงนโยบายอุตสาหกรรม EV conversion พร้อมกับขยายความต่อว่า

“ประเทศไทยมีรถที่สัญจรในปัจจุบัน 40 ล้านคัน มีปัญหามาก เพราะเทคโนโลยีเปลี่ยน มีแบตเตอรี่ลิเทียมเข้ามาแล้ว เป็นอีวีแล้ว แต่ที่หนักหนาสาหัสคือรถยนต์สันดาปซึ่งเป็นตัวปล่อยคาร์บอนจะทำยังไง ถ้าแก้ปัญหานี้ไม่ได้ นโยบายลดการปล่อยคาร์บอนภายใน 10 ปีก็เป็นไปไม่ได้ ขณะที่รถยนต์ไฟฟ้ามีราคาแพง ชาวบ้านหรือคนทำมาหากินไม่สามารถซื้อได้ เราจึงต้องมาดูว่าทำอย่างไรจึงจะยิงนกหลายตัวด้วยกระสุนนัดเดียว นั่นก็คือการสนับสนุนอุตสาหกรรม EV conversion หรือ รถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ด้วยการนำรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปมาปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ให้เป็นระบบไฟฟ้า นอกจากจะช่วยให้คนใช้รถยนต์ไฟฟ้าด้วยต้นทุนที่ถูก ช่วยกลุ่มคนทำมาหากินอย่างรถแท็กซี่ให้มีรายได้มากขึ้นเพราะต้นทุนการใช้พลังงานถูกลง ยังเป็นการสร้างเศรษฐกิจฐานรากทำให้อู่ซ่อมรถยนต์หรือผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รายเล็กๆ ที่ยังไม่พร้อมก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า หันมาให้บริการติดตั้งเครื่องยนต์ไฟฟ้าได้อีกทางหนึ่ง”

ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ที่ปรึกษาพิเศษด้านพัฒนาการศึกษา บุคลากร และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)
ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ที่ปรึกษาพิเศษด้านพัฒนาการศึกษา บุคลากร และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)

ที่มาข้อมูล/อ่านบทความต่อทั้งหมด ได้ที่ : https://www.salika.co/2022/03/13/ev-conversion-new-thailand-ev-industry/